การบริหารจัดการด้านพลังงาน
เนื่องจากโลกของเรามีประชากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต่างเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจสังคมของตนเองมาเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น มนุษยชาติจึงต้องการพลังงานมากขึ้นจนถึงระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คาดกันว่าภายในปี 2583 การใช้พลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ปัจจุบันไดกิ้นมีส่วนร่วมในการรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งแสวงหาแหล่งพลังงานที่หลากหลาย (Diversification) รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของแหล่งพลังงานและการเก็บกักพลังงาน
ทิศทางของอุตสาหกรรม
ปัจจุบันแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานลำดับ 5 จากแหล่งพลังงานหลัก โดยประกอบด้วยพลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังน้ำ คาดการณ์กันว่าแหล่งพลังงานหมุนเวียนจะเติบโตต่อเนื่องประมาณ 2.6% ต่อปีจนถึงปี 2583 เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานจากซากของสิ่งมีชีวิตหรือฟอสซิล ความท้าทายด้านพลังงานไม่ได้มีเพียงแค่การค้นหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการบริหารจัดการกับพลังงานที่ผลิตขึ้นมาด้วย ในการบริหารจัดการพลังงาน มีอุปสรรคสำคัญ 2 ประการที่เกิดขึ้น โดยประการแรกคือความต้องการอย่างเร่งด่วนในการระบายความร้อน ส่วนประการที่สองคือการเก็บกักพลังงาน
แล้วทำอย่างไรจึงจะเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมได้ ทำอย่างไรจึงจะเก็บกักพลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ในอนาคตได้ สารเคมีในแบตเตอรี่จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียด ทั้งนี้เพื่อให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและชาร์จได้หลายครั้งมากขึ้น และสามารถลดขนาดแบตเตอรี่ให้เล็กลงด้วย เทคโนโลยีแบตเตอรี่รุ่นใหม่กำลังจะปรากฏขึ้นมา ดังนั้นงานด้านวัสดุศาสตร์จะทวีจำนวนและความสำคัญมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับเคมีไฟฟ้าในการอัดประจุและการคายประจุ
ไดกิ้นมีส่วนสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าวอย่างเต็มที่โดยได้พัฒนาทางเลือกเพื่อรับมือกับท้าทายด้านพลังงานของโลก ดังนี้
- เพิ่มคุณสมบัติและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (ปะเก็น สารยึดเกาะ)
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์
- รักษาและยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์พลังงานกลางแจ้ง
การใช้งาน
ไดกิ้นได้เพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการด้านพลังงานและการเก็บกักพลังงาน โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์กลุ่มฟลูออรีนที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับใช้ในงานต่าง ๆ ดังนี้
- การผลิตพลังงานลม
- เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์
- แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แบตเตอรี่ลิเทียมชนิดใช้ครั้งเดียว
ผลิตภัณฑ์กลุ่มฟลูออรีนมีข้อดีด้านประสิทธิภาพที่โดดเด่นเหนือวัสดุเก็บกักพลังงานชนิดอื่น เนื่องจากมีความทนต่ออุณหภูมิการใช้งานในระดับสูงสุด ทนต่อสารเคมีได้ดี มีความคงตัวเมื่อสัมผัสกับสารเคมี และมีความปลอดภัยสูงต่อการเกิดอัคคีภัย ผลิตภัณฑ์กลุ่มฟลูออโรเคมิคอลและฟลูออโรพอลีเมอร์ของไดกิ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์เก็บกักพลังงานและอุปกรณ์ให้พลังงานหลายประเภท
-
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
NEOFLON VT เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นดีกว่า ทำให้มีความหนาแน่นของอิเล็กโทรดสูง มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเรซินเกาะประสานประเภท PVDF ธรรมดาทั่วไป
NEOFLON PFA มีคุณสมบัติในการปิดผนึกที่ดีกว่า เป็นวัสดุที่ใช้ในปะเก็นกันรั่วที่ให้ความปลอดภัยสูงและมีอายุการใช้งานยาวนาน -
การผลิตพลังงานลม
สารเคลือบที่ผสมสูตรกับเรซินกลุ่ม ZEFFLE และสารเติมแต่ง ช่วยลดความถี่ในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมให้น้อยลง เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่สาหัส เช่น บริเวณชายฝั่ง หรือในสภาพอากาศหนาวเย็น
-
เซลล์แสงอาทิตย์
แผ่นรองหลัง :
เรซินกลุ่ม ZEFFLE เป็นเรซินที่ทนต่อสภาพอากาศ จึงนิยมนำใช้ปกป้องพื้นผิวของแผ่นรองหลังเซลล์แสงอาทิตย์ เรซินกลุ่มนี้ช่วยให้การผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพโดยยืดอายุเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเท่ากับช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแผ่นรองด้านหน้า :
ฟิล์มเคลือบกลุ่ม NEOFLON ETFE มีคุณสมบัติทนต่อสภาพอากาศ มีความแข็งแรงทางกลดีเยี่ยม เหมาะกับนำมาใช้ปกป้องพื้นผิวของแผ่นรองด้านหน้าของเซลล์แสงอาทิตย์